
Global Positioning System หรือระบบบอกตำแหน่งบนโลก ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า GPS หมายถึง ฐานรับสัญญาณดาวเทียมระบบนำทาง (satellite-based navigation system) โดยมีเครือข่ายที่ส่งมาจากดาวเทียม GPS Block II หรือเรียกรวม ๆ ว่า NAVSTAR โคจรอยู่บนท้องฟ้ารอบโลก ที่ความสูงจากพื้นโลก 11,000 nautical miles (1 nautical mile เท่ากับ 6,076 ฟุต หรือระยะ 1 ลิปดาของเส้นรอบวงโลก) ระยะเวลาโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมงต่อ 1 รอบ จำนวนรวมทั้งสิ้น 24 ดวง
ดาวเทียม GPS ดวงแรกถูกส่งเข้าวงโคจรเมื่อ พ.ศ. 2521 และในปี พ.ศ. 2537 ดาวเทียม GPS ดวงที่ 24 ก็ถูกส่งขึ้นไป (หมายเหตุ: ปัจจุบันดาวเทียม GPS มีอยู่ทั้งหมด 29 ดวง แต่อีก 5 ดวงจะเป็นดาวเทียมสำรอง เพื่อเตรียมใช้ทดแทนดาวเทียมที่กำลังจะหมดอายุ)
ระบบนำทาง GPS ในปัจจุบัน เอื้อประโยชน์แก่นักทางเดินทางได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้พ็อคเก็ตพีซี สามารถเลือกซื้อเครื่องรับ GPS ได้หลายแบบ แต่แบบที่ได้รับความนิยมที่สุดน่าจะเป็น GPS Navigator ที่มี Bluetooth เหมาะสำหรับการใช้งานในรถยนต์หรือยานพาหนะทางบก ทางเรือ และทางอากาศได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นนักเดินทางที่ไม่นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ ก็คงจะต้องใช้แบบ SDIO หรือ CF Card รวมทั้งแบบที่ติดตั้งระบบ GPS มากับตัวเครื่องแบบของ MiTAC เพราะสามารถพกพาไปได้สะดวก แต่ก็ต้องแลกกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ลดลง ซึ่งก็คงต้องหาแบตเตอรี่สำรองมาเตรียมไว้
ปัจจุบันมีผู้ผลิตแผนที่ GPSในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยสำหรับใช้งานบนพ็อคเก็ตพีซี มาให้เลือกซื้อกันหลายราย แม้ว่าในหลาย ๆ จุด อาจยังขาดรายละเอียด และไม่ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เทียบไม่ได้กับแผนที่ของทางประเทศในกลุ่มยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่บางประเทศในเอเชีย เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น แต่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ โดยเฉพาะแผนที่ในส่วนของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีผู้ให้บริการข้อมูลผ่าน GPRS เช่น i-Mobile by SAMART ในการช่วยค้นหาสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ตึกอาคารที่สำคัญ รวมทั้งนำภาพจากกล้องของตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ติดตั้งในจุดต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคามาดูบนพ็อคเก็ตพีซีได้ เพื่อใช้การตัดสินใจในการเลือกเส้นทาง นับว่าเป็นประโยชน์มาก มีความเห็นว่า GPS เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ใช้พ็อคเก็ตพีซีสามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์พกพาตัวนี้ ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการใช้งาน GPS สามารถใช้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องหา GPS มาใช้งานกัน เพื่อการเดินทางอย่างมีความสุขไปกับพ็อคเก็ตพีซีคู่ใจของคุณ.
ดาวเทียม GPS ดวงแรกถูกส่งเข้าวงโคจรเมื่อ พ.ศ. 2521 และในปี พ.ศ. 2537 ดาวเทียม GPS ดวงที่ 24 ก็ถูกส่งขึ้นไป (หมายเหตุ: ปัจจุบันดาวเทียม GPS มีอยู่ทั้งหมด 29 ดวง แต่อีก 5 ดวงจะเป็นดาวเทียมสำรอง เพื่อเตรียมใช้ทดแทนดาวเทียมที่กำลังจะหมดอายุ)
ระบบนำทาง GPS ในปัจจุบัน เอื้อประโยชน์แก่นักทางเดินทางได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้พ็อคเก็ตพีซี สามารถเลือกซื้อเครื่องรับ GPS ได้หลายแบบ แต่แบบที่ได้รับความนิยมที่สุดน่าจะเป็น GPS Navigator ที่มี Bluetooth เหมาะสำหรับการใช้งานในรถยนต์หรือยานพาหนะทางบก ทางเรือ และทางอากาศได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นนักเดินทางที่ไม่นิยมเดินทางด้วยรถยนต์ ก็คงจะต้องใช้แบบ SDIO หรือ CF Card รวมทั้งแบบที่ติดตั้งระบบ GPS มากับตัวเครื่องแบบของ MiTAC เพราะสามารถพกพาไปได้สะดวก แต่ก็ต้องแลกกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ลดลง ซึ่งก็คงต้องหาแบตเตอรี่สำรองมาเตรียมไว้

ปัจจุบันมีผู้ผลิตแผนที่ GPSในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยสำหรับใช้งานบนพ็อคเก็ตพีซี มาให้เลือกซื้อกันหลายราย แม้ว่าในหลาย ๆ จุด อาจยังขาดรายละเอียด และไม่ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เทียบไม่ได้กับแผนที่ของทางประเทศในกลุ่มยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่บางประเทศในเอเชีย เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น แต่ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ โดยเฉพาะแผนที่ในส่วนของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีผู้ให้บริการข้อมูลผ่าน GPRS เช่น i-Mobile by SAMART ในการช่วยค้นหาสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ตึกอาคารที่สำคัญ รวมทั้งนำภาพจากกล้องของตำรวจจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ติดตั้งในจุดต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคามาดูบนพ็อคเก็ตพีซีได้ เพื่อใช้การตัดสินใจในการเลือกเส้นทาง นับว่าเป็นประโยชน์มาก มีความเห็นว่า GPS เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ใช้พ็อคเก็ตพีซีสามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์พกพาตัวนี้ ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการใช้งาน GPS สามารถใช้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องหา GPS มาใช้งานกัน เพื่อการเดินทางอย่างมีความสุขไปกับพ็อคเก็ตพีซีคู่ใจของคุณ.